การกำหนดตำแหน่งติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ สิ่งที่ต้องคำนึงคือ
– แสงสว่าง ควรคำนึงถึงเรื่องระดับของแสงสว่างทั้งในเวลากลางวัน และเวลากลางคืน ควรที่จะมีแสงสว่างเพียงพอเพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณภาพและปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือควรหลีกเลี่ยงการจับภาพในพื้นที่ที่มีแสงสว่างจ้ามากๆ แม้ว่ากล้องจะมีระบบ BLC หรือ Back Light Compensation อยู่แล้วก็ตาม
–
ไม่ควรติดตั้งใกล้พื้นที่ที่มีสัญญาณรบกวนได้ง่ายหรือแม้แต่การเดินสายสัญญาณผ่าน เช่นใกล้ หม้อแปลงไฟฟ้าแรงดันสูง – เครื่องปรับอากาศ – เครื่องจักรที่มีการใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสูง แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรติดให้อยู่ห่างมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ วิธีการที่พอจะช่วยได้ก็คือ ใช้สายสัญญาณที่มีคุณภาพสูงๆ มีระบบป้องกันการรบกวนสูง หรือที่เรียกกันว่า Shield ควรเลือกสายที่มีเปอร์เซ็นต์ของ Shield สูงๆ
– เดินสายสัญญาณภาพและสายไฟฟ้าแยกท่อสายกันในหน่วยงานใหญ่ๆ การเดินสายไฟฟ้านั้นมักจะแยกออกจากสายสัญญาณให้เราอยู่แล้ว หน้าที่ของเราคือหาท่อ หรือ รางเดินสายของสายสัญญาณให้พบ หากหาไม่พบ หรือ ท่อ – รางเต็ม คงต้องเดินท่อสายใหม่
– ไม่ควรให้อยู่ไกลจากห้องควบคุมหรือแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้ามากเกินไป ข้อนี้จะเป็นประโยชน์คือ ช่วยในการประหยัดงบประมาณ และติดตั้งง่ายขึ้น ในสมัยก่อน ข้อนี้จำกัดของการติดตั้งกล้องพอสมควร เพราะสายสัญญาณที่เป็นสาย RG6 ที่มีคุณภาพนั้น ปกติหากเดินผ่านพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณรบกวน โดยทั่วไปจะใช้งานได้ที่ ระยะทางประมาณ 400 – 500 เมตร สาย LAN CAT5E ได้ประมาณ 100 เมตร หากไกลกว่านั้น จะใช้ RG 11 สำหรับอนาล๊อก แต่หากไกลกว่านั้นอีก คงต้องใช้สายไฟเบอร์ ซึ่งจะทำให้ราคาสูงขึ้น เพราะต้องเสียเงินค่า Media Converter เพื่อแปลงสาย RG6 , LAN เป็น Fiber และ แปลงกลับเป็น RG6 , LAN
– ติดตั้งภายในหรือภายนอกอาคาร หากติดตั้งภายในก็คงไม่มีอะไรมาก หากเป็นภายนอกอาคาร ควรคำนึงถึงเรื่องความสามารถในการทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศของทั้งกล้องและ Housing ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ก็จะบอกมาตรฐานเป็น IP65 – IP66 – IP67 ก็ควรจะเลือกให้ไม่น้อยกว่า IP65 เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากันน้ำพอสมควร
– พื้นที่ติดตั้งไม่ควรจะมีความชื้นและอุณหภูมิสูงมากนัก เพราะกล้องและเลนส์นั้นเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ย่อมต้องมีช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำงาน แต่ถ้าหากเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรใช้กล้องที่มีความคงทนต่ออุณหภูมิและความชื้น รวมถึงกล่องใส่กล้อง หรือ Housing ด้วย
– ควรเลือกกล้องให้เข้ากับสถาปัตยกรรมของอาคารหรือสถานที่นั้นๆ เช่นในห้องประชุมสัมมนาก็ควรเป็นกล้องทรงโดมติดฝ้าเพดาน แทนที่จะเป็นกล้องกระบอกใส่ Housing เป็นต้น
– พื้นที่ติดตั้งนั้นปลอดภัยจากพวกทำลายศิลปวัตถุ ( Vandalism ) หรือไม่ หากมีความจำเป็นต้องติดในพื้นที่เหล่านี้ ควรจะเลือกกล้อง , Housing หรือ อุปกรณ์ที่จำเป็นให้เป็นแบบ Vandal Proof เพราะจะออกแบบมาให้ทนทานเป็นพิเศษ